Toyota Alphard และ Vellfire 40 ใหม่นั้นมีให้เลือกทั้งรุ่นเครื่องยนต์น้ำมันล้วนและรุ่นไฮบริด แต่ผู้ซื้อหลายท่านมักสงสัยว่าควรเลือกแบบไหนกันแน่ บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจข้อดีข้อเสียของทั้งสองแบบ เพื่อให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าทำไมเครื่องยนต์น้ำมันล้วนจึงอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
ใน Alphard และ Vellfire 40 ใหม่นั้นมีให้เลือกทั้งรุ่นเครื่องยนต์น้ำมันล้วนและรุ่นไฮบริด ได้แก่
1. เครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตร (น้ำมันล้วน) เครื่องตัวนี้ยังคงมาในบล็อคเดิมคือ 2AR-FE ที่ใช้ในโฉม 30 ให้แรงม้าที่ 182 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ แรงบิด 235 นิวตันเมตร ที่ 4,100 รอบ ขับเคลื่อนด้วยเกียร์ CVT-i 7 Speed มีอัตราบริโภคน้ำมันโดยเฉลี่ย 10.2 กม./ต่อลิตร
2. เครื่องยนต์เบนซิน-ไฮบริด 2.5 ลิตร (ไฮบริด-Hybrid) เครื่องยนต์เบนซินพร้อมมอเตอร์ไฟฟ้ามาในเครื่องใหม่ (ตัวเดียวกับ Harrier) รหัส A25A-FXS ให้แรงม้าที่ 190 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ แรงบิด 236 นิวตันเมตร ที่ 4,300 รอบ ขับเคลื่อนด้วยเกียร์ E-CVT7 Speed มีอัตราบริโภคน้ำมันโดยเฉลี่ย 17.6 กม./ต่อลิตร ประหยัดน้ำมันมากขึ้นกว่าเครื่องรุ่นก่อนหน้า
3. เครื่องยนต์เบนซิน-เทอร์โบ 2.4 ลิตร เครื่องยนต์ใหม่ที่ถูกนำมาแทนที่เครื่อง 3.0L V6 เดิม มาในรหัส T24-FTS ให้แรงม้าที่ 279 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ แรงบิด 430 นิวตันเมตร ที่ 1,700 – 3,600 รอบ ขับเคลื่อนด้วยเกียร์ DIRECT-SHIFT 8 Speed มีอัตราประหยัดน้ำมันสูงสุดอยู่ที่ 10.6 กม./ต่อลิตร (เป็นครั้งแรกที่โตโยต้านำเครื่อง 2.4 เทอร์โบมาใช้ใน Segment MPV ของทางค่าย และเลือกที่จะนำมาใช้ใน Vellfire)
ข้อดีของเครื่องยนต์น้ำมันล้วน
- ค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาต่ำกว่า
เครื่องยนต์น้ำมันล้วนมีโครงสร้างที่ซับซ้อนน้อยกว่า ทำให้การบำรุงรักษาง่ายและค่าใช้จ่ายน้อยกว่า โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับรุ่นไฮบริดที่มีระบบซับซ้อนมากกว่า - ความพร้อมใช้งานที่มั่นคงในระยะยาว
รถเครื่องยนต์น้ำมันสามารถทำงานได้ดีในทุกสภาพอากาศและทุกอุณหภูมิ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการรถที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่ที่อาจเสื่อมสภาพหรือมีประสิทธิภาพลดลงตามระยะเวลาการใช้งาน - ค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ถูกกว่าและการขายต่อที่ได้ราคาที่ดีกว่า
โดยทั่วไปแล้ว รถรุ่นเครื่องยนต์น้ำมันล้วนจะมีราคาเริ่มต้นที่ถูกกว่าไฮบริด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดต้นทุนในการซื้อรถ อีกทั้งการขายต่อยังได้ราคาที่ดีกว่ารถไฮบริด เนื่องจากรถตัดเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบไฮบริดออกไป - ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฮบริด
เครื่องยนต์ไฮบริดต้องใช้แบตเตอรี่ลิเทียม ซึ่งมีอายุการใช้งานจำกัดและอาจต้องเปลี่ยนใหม่ในอนาคต ในขณะที่เครื่องยนต์น้ำมันล้วนไม่มีภาระด้านนี้ ทำให้เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ากว่าในระยะยาว
ข้อเสียของเครื่องยนต์น้ำมันล้วน
- อัตราการบริโภคน้ำมัน
ถ้าผู้ใช้งานมีการใช้งานในพื้นที่จราจรที่ข้างหนาแน่น หรือเคลื่อนตัวได้ค่อนข้างช้าเป็นหลัก ส่งผลให้ตัวรถมีอัตราบริโภคน้ำมันที่มากกว่าปกติเมื่อเทียบกับระบบไฮบริดที่ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ไฮบริดเมื่ออยู่ในความเร็วต่ำ - การปล่อยมลพิษ
เนื่องจากไม่มีระบบไฮบริดเข้ามาสลับใช้พลังงานไฟฟ้าเข้าช่วย การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จึงเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับระบบไฮบริด
ข้อดีของเครื่องยนต์ไฮบริด
- ประหยัดน้ำมัน
ระบบไฮบริดมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเสริม ช่วยลดการใช้น้ำมันได้ดี โดยเฉพาะในเมืองที่การจราจรหนาแน่นหรือการใช้งานในความเร็วต่ำ - ลดการปล่อยมลพิษ
เนื่องจากระบบไฮบริดสามารถสลับใช้พลังงานไฟฟ้าเข้าช่วย การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จึงลดลง จึงถือเป็นตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า
ข้อเสียของเครื่องยนต์ไฮบริด
- ค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาสูงกว่า
เครื่องยนต์ไฮบริดมีระบบที่ซับซ้อน ต้องการการดูแลรักษามากกว่า เช่น การดูแลแบตเตอรี่และระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงสูงกว่ารุ่นน้ำมันล้วน - ค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแบตเตอรี่สูง
แบตเตอรี่ของรถไฮบริดมักมีอายุการใช้งานจำกัด การเปลี่ยนแบตเตอรี่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งอาจเป็นภาระทางการเงินในอนาคต - ประสิทธิภาพในสภาวะอากาศเย็นจัดหรือร้อนจัด
รถไฮบริดอาจมีประสิทธิภาพลดลงในสภาวะที่เย็นจัดหรือร้อนจัด เนื่องจากแบตเตอรี่และระบบไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมาก - ความพร้อมใช้งานที่มั่นคงในระยะยาว
ผู้ใช้งานรถยนต์ในระบบไฮบริด ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่ที่อาจเสื่อมสภาพหรือมีประสิทธิภาพลดลงตามระยะเวลาการใช้งาน ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานรถไม่เกิน 5 ปี - ต้นทุนที่แพงกว่าและค่าความเสื่อมที่มากกว่า
โดยทั่วไปแล้ว รถรุ่นเครื่องยนต์ไฮบริดจะมีราคาเริ่มต้นที่สูงกว่า และก็มีอัตราค่าความเสื่อมที่ลดลงเยอะกว่า เมื่อเทียบกับรถน้ำมันล้วน จึงทำให้การขายต่อของรถที่เป็นระบบไฮบริดราคาด้อยว่ารถน้ำมันล้วน เนื่องจากทางพ่อค้ารถมือสองต้องแบกความเสี่ยงในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบไฮบริด
**เครดิต ขอบคุณรูปภาพจาก TOYOTA.JP
แปล เขียน และ เรียบเรียง โดย Chanothai D Limsakul